ประสิทธิผลของน้ายาอมอดบุหรี่ 0.5 เปอร์เซ็นต์โซเดียมไนเตรทกับยาอมหญ้าดอกขาวในการบ้าบัดผู้ติดบุหรี่
ชัยรัชต์ ้ ก้องเปสลาพันธ์, สำเนา นิลบรรพ์, สมพร สุวรรณมาโจ, ศรีไพร เจนชัย, ศิวนาถ เรียนลึก, ปริสุทธิ์ สำราญทรัพย์*สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของน้ายาอมอดบุหรี่กับยาอมหญ้าดอกขาวในการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยนอกที่มารับการบาบัดเพื่อเลิกบุหรี่
วัสดุและวิธีการในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการจานวน 83 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเพื่อเลิกบุหรี่ที่คลินิกบุหรี่ที่สถาบันบาบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธี blocked randomization คือ กลุ่มทดลองจานวน 43 ราย ซึ่งจะได้รับน้ายาอมอดบุหรี่ และกลุ่มควบคุม จานวน 40 ราย ได้รับยาอมหญ้าดอกขาว ติดตามผลการเลิกบุหรี่ในสัปดาห์ที่ 1, 4, 7 และ 12 ในการติดตามผลจะสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ และตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันผล จากนั้นจะมีการวิเคราะห์ค่าอัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง (continuous abstinence rate; CAR) และอัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 1 สัปดาห์ก่อนวันประเมินผล (point prevalence abstinence rate ; PAR) เพื่อวิเคราะห์อัตราการเลิกบุหรี่ของทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ ค่า PAR และ CAR ในกลุ่มอาสาสมัครที่ใช้น้ายาอมอด
บุหรี่และยาอมหญ้าดอกขาว นอกจากนี้พบว่าค่าปริมาณไนโตรเจนในเลือดที่เกิดจากร่างกายย่อยสลายโปรตีนที่ตับ (Blood Urea Nitrogen; BUN) ในหญ้าดอกขาวมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อสรุป น้ายาอมอดบุหรี่และหญ้าดอกขาวสามารถช่วยในการเพิ่มโอกาสในการหยุดสูบบุหรี่
ที่มา
Nakhonphanom Hospital Journal ปี 2566, January-April
ปีที่: 10 ฉบับที่ 1 หน้า 1-15
คำสำคัญ
Vernonia cinerea, หญ้าดอกขาว, sodium nitrate, tobacco use disorder, น้ำยาอมอดบุหรี่, โซเดียมไนเตรท, ติดบุหรี่